มาตรฐานการประเมิน

แบบการตรวจมาตรฐานศูนย์ไกล่เกลี่ยข้อพิพาทภาคประชาชน

ศูนย์ไกล่เกลี่ยข้อพิพาทภาคประชาชน เป็นสถานที่ที่เกิดจากการรวมตัวของประชาชนในระดับชุมชน เพื่อใช้สำหรับให้บริการประชาชนในพื้นที่ชุมชนนั้นๆ ให้เข้าถึงบริการการไกล่เกลี่ยข้อพิพาท ตลอดจนเป็นสถานที่ในการถ่ายทอดความรู้เกี่ยวกับภารกิจด้านต่าง ๆ ของกระทรวงยุติธรรมไปสู่ประชาชนในระดับพื้นที่
มาตรฐานศูนย์ไกล่เกลี่ยข้อพิพาทภาคประชาชน จัดทำขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์ ดังนี้

  1. เพื่อให้ประชาชนผู้รับบริการมีความมั่นใจว่าจะได้รับการอำนวยความยุติธรรม ผ่านบริการที่ดี มีประสิทธิภาพและมีมาตรฐาน
  2. เพื่อให้ประชาชนผู้รับบริการสามารถรักษาสิทธิของตนในการรับบริการจากศูนย์ไกล่เกลี่ยข้อพิพาทภาคประชาชน ผ่านการตรวจสอบ ติดตาม
  3. เพื่อยกระดับศูนย์ไกล่เกลี่ยข้อพิพาทภาคประชาชนให้เป็นที่ยอมรับ เชื่อมั่น เชื่อถือแก่ประชาชนในท้องถิ่นชุมชน
  4. เพื่อกรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพ จะใช้ข้อมูลสำหรับการวางแผนและจัดสรรทรัพยากรในการส่งเสริม สนับสนุน หรือพัฒนาการดำเนินงานของศูนย์ไกล่เกลี่ยข้อพิพาทภาคประชาชน และผู้ไกล่เกลี่ย

มาตรฐานศูนย์ไกล่เกลี่ยข้อพิพาทภาคประชาชน

แบ่งออกเป็น ๔ ด้าน ๓๕ ตัวชี้วัด (ค่าน้ำหนัก ๑๐๐ คะแนน) ได้แก่


ด้านที่ ๑ โครงสร้างเชิงกายภาพ มีจำนวน ๖ ตัวชี้วัด (ค่าน้ำหนัก ๒๐ คะแนน)

ตัวชี้วัดที่ ๑.๑ มีสำนักงานที่ตั้ง

ตัวชี้วัดที่ ๑.๒ มีป้ายชื่อศูนย์ไกล่เกลี่ยข้อพิพาทภาคประชาชน ติดไว้ ณ ที่ตั้งศูนย์ไกล่เกลี่ยข้อพิพาทภาคประชาชน

ตัวชี้วัดที่ ๑.๓ มีการติดประกาศ คำสั่ง จัดตั้งศูนย์ไกล่เกลี่ยข้อพิพาทภาคประชาชน

ตัวชี้วัดที่ ๑.๔ มีการจัดทำผังโครงสร้าง คณะทำงานบริหารประจำศูนย์ไกล่เกลี่ยข้อพิพาทภาคประชาชน

ตัวชี้วัดที่ ๑.๕ มีสถานที่ที่จัดไว้สำหรับการจัดกระบวนการไกล่เกลี่ยข้อพิพาท

ตัวชี้วัดที่ ๑.๖ มีอุปกรณ์พร้อมสำหรับการให้บริการผู้มาขอรับบริการ

ด้านที่ ๒ บุคลากร มีจำนวน ๖ ตัวชี้วัด (ค่าน้ำหนัก ๒๐ คะแนน)

ตัวชี้วัดที่ ๒.๑ มีคำสั่งแต่งตั้งคณะทำงานบริหารประจำศูนย์ไกล่เกลี่ยข้อพิพาทภาคประชาชน

ตัวชี้วัดที่ ๒.๒ มีบุคลากรประสานงานประจำศูนย์ไกล่เกลี่ยข้อพิพาทภาคประชาชนหรือมีช่องทางให้ประชาชนสามารถติดต่อได้เมื่อต้องการขอรับบริการ

ตัวชี้วัดที่ ๒.๓ มีผู้ทำหน้าที่ไกล่เกลี่ยข้อพิพาทประจำศูนย์ไกล่เกลี่ยข้อพิพาทภาคประชาชน (เป็นผู้ที่ผ่านการอบรมหลักสูตรอบรมการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทตามหลักสูตรที่ กพยช. รับรอง)

ตัวชี้วัดที่ ๒.๔ คณะทำงานบริหารประจำศูนย์ไกล่เกลี่ยข้อพิพาทภาคประชาชนได้รับการพัฒนาศักยภาพด้านการจัดกระบวนการไกล่เกลี่ยข้อพิพาท

ตัวชี้วัดที่ ๒.๕ ผู้ไกล่เกลี่ยข้อพิพาทประจำศูนย์ไกล่เกลี่ยข้อพิพาทภาคประชาชนได้รับการพัฒนาศักยภาพด้านการไกล่เกลี่ยข้อพิพาท

ตัวชี้วัดที่ ๒.๖ คณะทำงานบริหารประจำศูนย์ไกล่เกลี่ยข้อพิพาทภาคประชาชนได้รับการพัฒนาศักยภาพในด้านต่าง ๆ สามารถแนะนำภารกิจของกระทรวงยุติธรรม


ด้านที่ ๓ การบริหารจัดการ แบ่งออกเป็น ๓ ด้านย่อย มีจำนวน ๑๒ ตัวชี้วัด (ค่าน้ำหนัก ๒๕ คะแนน) ได้แก่
(๑) ระบบข้อมูล มีจำนวน ๕ ตัวชี้วัด (ค่าน้ำหนัก ๑๐ คะแนน)
(๒) การพัฒนางาน มีจำนวน ๕ ตัวชี้วัด (ค่าน้ำหนัก ๑๐ คะแนน)
(๓) การมีส่วนร่วม มีจำนวน ๒ ตัวชี้วัด (ค่าน้ำหนัก ๕ คะแนน)

ตัวชี้วัดที่ (๓.๑) ระบบข้อมูล

ตัวชี้วัดที่ ๓.๑.๑ มีการจัดทำฐานข้อมูลพื้นฐานของชุมชนในพื้นที่ศูนย์ไกล่เกลี่ยข้อพิพาทภาคประชาชน

ตัวชี้วัดที่ ๓.๑.๒ มีทะเบียนผู้ไกล่เกลี่ยในพื้นที่

ตัวชี้วัดที่ ๓.๑.๓ มีบัญชีผู้ไกล่เกลี่ยในพื้นที่

ตัวชี้วัดที่ ๓.๑.๔ มีการเก็บข้อมูลผลการปฏิบัติงานของผู้ไกล่เกลี่ย และคณะทำงานบริหารประจำศูนย์ไกล่เกลี่ยข้อพิพาทภาคประชาชน

ตัวชี้วัดที่ ๓.๑.๕ สรุปผลและรายงานผลการดำเนินงานทุกเดือน

ตัวชี้วัดที่ (๓.๒) การพัฒนาระบบงาน

ตัวชี้วัดที่ ๓.๒.๑ มีการประชุมคณะทำงานบริหารประจำศูนย์ไกล่เกลี่ยข้อพิพาทภาคประชาชน (โดยมี
การบันทึกการประชุม, ภาพถ่าย, เอกสาร ลงทะเบียน, อื่น ๆ)

ตัวชี้วัดที่ ๓.๒.๒ รายงานผลการประชุมคณะทำงานบริหารประจำศูนย์ไกล่เกลี่ยข้อพิพาทภาคประชาชนทุกครั้งเมื่อมีการประชุม

ตัวชี้วัดที่ ๓.๒.๓ แผนดำเนินงานประจำปี

ตัวชี้วัดที่ ๓.๒.๔ แผนการขอรับการสนับสนุนงบประมาณจากคณะกรรมการส่งเสริมและกำกับการดำเนินงานศูนย์ไกล่เกลี่ยข้อพิพาทภาคประชาชน

ตัวชี้วัดที่ ๓.๒.๕ มีการสรุปผลการดำเนินงานและการใช้จ่ายงบประมาณเก็บไว้ประจำศูนย์ฯ

ตัวชี้วัดที่ (๓.๓) การมีส่วนร่วม

ตัวชี้วัดที่ ๓.๓.๑ มีการเข้าโครงการ/กิจกรรมร่วมกับสำนักงานยุติธรรม หรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการอำนวยความยุติธรรม

ตัวชี้วัดที่ ๓.๓.๒ การทำกิจกรรมร่วมกับอาสาสมัครเครือข่ายกระทรวงยุติธรรมในพื้นที่


ด้านที่ ๔ งานบริการ แบ่งออกเป็น ๓ ด้านย่อย มีจำนวน ๑๑ ตัวชี้วัด (ค่าน้ำหนัก ๓๕ คะแนน) ได้แก่
(๑) การไกล่เกลี่ยข้อพิพาท มีจำนวน ๓ ตัวชี้วัด (ค่าน้ำหนัก ๒๐ คะแนน)
(๒) การอำนวยความยุติธรรมและลดความเลื่อมล้ำในการเข้าถึงความยุติธรรมของประชาชน มีจำนวน ๒ ตัวซี้วัด (ค่าน้ำหนัก ๕ คะแนน)
(๓) มาตรฐานการให้บริการ มีจำนวน ๖ ตัวชี้วัด (ค่าน้ำหนัก ๑๐ คะแนน)

ตัวชี้วัดที่ (๔.๑) การไกล่เกลี่ยข้อพิพาท

ตัวชี้วัดที่ ๔.๑.๑ การจัดกระบวนการไกล่เกลี่ยแล้วเสร็จภายในกำหนด(ตามมาตรฐานขั้นตอนและระยะเวลาการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทของศูนย์ไกล่เกลี่ยข้อพิพาทภาคประชาชน)

ตัวชี้วัดที่ ๔.๑.๒ ความขัดแย้งยุติได้

ตัวชี้วัดที่ ๔.๑.๓ มีการจัดทำบันทึกข้อตกลงระงับข้อพิพาทดำเนินการ
ตามพระราชบัญญัติการไกล่เกลี่ยข้อพิพาท พ.ศ. ๒๕๖๒

ตัวชี้วัดที่ (๔.๒) การอำนวยความยุติธรรมและลดความเลื่อมล้ำในการเข้าถึงความยุติธรรมของประชาชน

ตัวชี้วัดที่ ๔.๒.๑ การจัดกิจกรรมให้ความรู้ทางกฎหมายการเฝ้าระวังและป้องกันปัญหาตามงบประมาณที่ได้รับการอุดหนุนเพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในการดำเนินการของศูนย์ไกล่เกลี่ยข้อพิพาทภาคประชาชน

ตัวชี้วัดที่ ๔.๒.๒ มีการประชาสัมพันธ์ข้อมูลข่าวสารให้ส่วนราชการและประชาชนทั่วไปทราบ

ตัวชี้วัดที่ (๔.๓) มาตรฐานการให้บริการ

ตัวชี้วัดที่ ๔.๓.๑ การจัดเก็บข้อมูลประชาชนผู้มารับบริการและการจัดหมวดหมู่แฟ้มเอกสารของศูนย์ไกล่เกลี่ยข้อพิพาทภาคประชาชน

ตัวชี้วัดที่ ๔.๓.๒ มีคู่มือการปฏิบัติงาน หรือเอกสาร เผยแพร่งานบริการ

ตัวชี้วัดที่ ๔.๓.๓ มีผังขั้นตอนการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทแสดงแก่ผู้รับบริการ

ตัวชี้วัดที่ ๔.๓.๔ มีการประเมินความพึงพอใจของผู้รับบริการ

ตัวชี้วัดที่ ๔.๓.๕ มีระบบการจัดการข้อร้องเรียน

ตัวชี้วัดที่ ๔.๓.๖ มีการวัดความพึงพอใจของคู่กรณีในการจัดทำบันทึกข้อตกลงระงับข้อพิพาท