ปรัชญา ปณิธาน วิสัยทัศน์ พันธกิจ นโยบาย วัตถุประสงค์ เป้าหมายฯ

ปรัชญา

ภูมิธรรม ภูมิรู้ ภูมิปัญญา กฎหมายและนวัตกรรม ยกระดับการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทบูรณาการสู่สันติสุขอย่างยั่งยืน

ปณิธาน

พัฒนาองค์ความรู้กฎหมายสู่นวัตกรรมการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทบูรณาการอย่างสันติสุขอย่างยั่งยืน

วิสัยทัศน์

สนับสนุน สร้างสรรค์ นวัตกรรม เครือข่าย การไกล่เกลี่ยข้อพิพาทบูรณาการสู่การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ลดปัญหาความขัดแย้ง พร้อมสร้างความสันติสุขร่วมกันอย่างยั่งยืน ยกระดับขับเคลื่อนสู่มาตรฐานสิทธิมนุษยชนประเทศและสากล

พันธกิจ

1. ส่งเสริม สนับสนุน การบูรณาการโครงสร้างองค์การและสร้างสรรค์สภาพสิ่งแวดล้อมสีเขียว

2. ส่งเสริม สนับสนุน การพัฒนาบุคลากรสู่มืออาชีพ องค์การแห่งการเรียนรู้และนวัตกรรมการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทชุมชน จังหวัด ประเทศและสากล

3. ส่งเสริม สนับสนุน การบริหารจัดการ พัฒนาระบบข้อมูลและเทคโนโลยีสารสนเทศ กำกับ ติดตาม ตรวจสอบ ยกระบบคุณค่างานอย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล

4. ส่งเสริม สนับสนุน พัฒนางานบริการการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทตามหลักธรรมาภิบาลที่ดี อำนวยความยุติธรรมและลดความเลื่อมล้ำในการเข้าถึงความยุติธรรมของประชาชน สร้างเครือข่ายสู่ความเชื่อมั่น ตามมาตรฐานการให้บริการอย่างสันติสุขของชุมชนอย่างยั่งยืน

นโยบาย

1. ส่งเสริม สนับสนุน การบูรณาการโครงสร้างองค์การและสร้างสรรค์สภาพสิ่งแวดล้อมสีเขียว ยกระดับสู่ต้นแบบของชุมชนสันติสุข

2. ส่งเสริม สนับสนุน การพัฒนาบุคลากรสู่มืออาชีพ องค์การแห่งการเรียนรู้และนวัตกรรมการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทชุมชน จังหวัด ประเทศและสากล ยกระดับสู่ต้นแบบผู้ไกล่เกลี่ยข้อพิพาททั้งด้านการบริการวิชาการ งานวิจัยและนวัตกรรมของชุมชนสันติสุข

3. ส่งเสริม สนับสนุน การบริหารจัดการ พัฒนาระบบข้อมูลและเทคโนโลยีสารสนเทศ กำกับ ติดตาม ตรวจสอบ ยกระบบคุณค่างานอย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลยุคดิจิทัล

4. ส่งเสริม สนับสนุน พัฒนางานบริการการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทตามหลักธรรมาภิบาลที่ดี อำนวยความยุติธรรมและลดความเลื่อมล้ำในการเข้าถึงความยุติธรรมของประชาชน สร้างเครือข่ายสู่ความเชื่อมั่น ตามมาตรฐานการให้บริการอย่างสันติสุขของชุมชนอย่างยั่งยืนตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง

วัตถุประสงค์

1. เพื่อส่งเสริม สนับสนุน การบูรณาการจัดโครงสร้างองค์การและสภาพสิ่งแวดล้อมที่ดี

2. เพื่อส่งเสริม สนับสนุน การพัฒนาบุคลากรในองค์การสู่มืออาชีพ การจัดการองค์การแห่งการเรียนรู้และนวัตกรรมและคุณภาพชีวิตที่ดีต่อชุมชน จังหวัด ประเทศและสากล

3. เพื่อส่งเสริม สนับสนุน การบริหารจัดการองค์การ พัฒนาระบบข้อมูล กำกับ ติดตาม ตรวจสอบ และยกระบบงานอย่างมีคุณค่า

4. เพื่อส่งเสริม สนับสนุน พัฒนางานบริการการไกล่เกลี่ยข้อพิพาท อำนวยความยุติธรรมและลดความเลื่อมล้ำในการเข้าถึงความยุติธรรมของประชาชน สร้างเครือข่าย ยกระดับสู่มาตรฐานการให้บริการและความสันติสุขของชุมชนอย่างยั่งยืน

เป้าหมาย

เป้าหมายปี 2567-2570

ทั้งนี้ การดำเนินงานสอดคล้องตามงบประมาณเพื่อสร้างสรรค์ชุมชนอยู่ร่วมกันอย่างสันติสุขและยั่งยืน

1. ส่งเสริม สนับสนุน การบูรณาการจัดโครงสร้างองค์การและสภาพสิ่งแวดล้อมสีเขียวตามมาตรฐานการประเมินไม่น้อยกว่าร้อยละ 50 ขึ้นไป

2. ส่งเสริม สนับสนุน การพัฒนาบุคลากรในองค์การสู่มืออาชีพ การจัดการองค์การแห่งการเรียนรู้และนวัตกรรมและคุณภาพชีวิตที่ดีต่อชุมชน จังหวัด ประเทศและสากล ตามมาตรฐานการประเมินไม่น้อยกว่าร้อยละ 50 ขึ้นไป

3. ส่งเสริม สนับสนุน การบริหารจัดการองค์การ พัฒนาระบบข้อมูล กำกับ ติดตาม ตรวจสอบ และยกระบบงานอย่างมีคุณค่า ตามมาตรฐานการประเมินไม่น้อยกว่าร้อยละ 50 ขึ้นไป

4. ส่งเสริม สนับสนุน พัฒนางานบริการการไกล่เกลี่ยข้อพิพาท อำนวยความยุติธรรมและลดความเลื่อมล้ำในการเข้าถึงความยุติธรรมของประชาชน สร้างเครือข่าย ยกระดับสู่มาตรฐานการให้บริการและความสันติสุขของชุมชนอย่างยั่งยืน ตามมาตรฐานการประเมินไม่น้อยกว่าร้อยละ 50 ขึ้นไป

แผนยุทธศาสตร์

1. ส่งเสริม สนับสนุน การบูรณาการจัดโครงสร้างองค์การและสภาพสิ่งแวดล้อมสีเขียวต่อชุมชน

2. ส่งเสริม สนับสนุน การพัฒนาบุคลากรในองค์การสู่มืออาชีพ การจัดการองค์การแห่งการเรียนรู้ การบริการวิชาการ งานวิจัย และนวัตกรรม ยกระดับคุณภาพชีวิตที่ดีต่อชุมชน จังหวัด ประเทศและสากล

3. ส่งเสริม สนับสนุน การบริหารจัดการองค์การ พัฒนาระบบข้อมูลและเทคโนโลยีดิจิทัล กำกับ ติดตาม ตรวจสอบ และยกระบบงานอย่างมีคุณค่า

4. ส่งเสริม สนับสนุน พัฒนางานบริการการไกล่เกลี่ยข้อพิพาท อำนวยความยุติธรรมและลดความเลื่อมล้ำในการเข้าถึงความยุติธรรมของประชาชน สร้างเครือข่าย ยกระดับสู่มาตรฐานการให้บริการและความสันติสุขของชุมชนอย่างยั่งยืน

กลยุทธ์

สอดคล้องตามมาตรฐานการประเมิน ดังต่อไปนี้

กลยุทธ์ที่ 1 : มาตรการส่งเสริม สนับสนุน การบูรณาการจัดโครงสร้างองค์การและสภาพสิ่งแวดล้อมสีเขียวต่อชุมชน

                    1.1 สำนักงาน ที่ตั้ง ถาวร การประชาสัมพันธ์ป้ายศูนย์ไกล่เกลี่ยข้อพิพาทภาคประชาชน ข้อมูล ข่าวสาร ศูนย์ไกล่เกลี่ยข้อพิพาทภาคประชาชนยุคดิจิทัล เพื่อสร้างความเชื่อมั่นต่อผู้รับบริการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทภาคประชาชนของชุมชนและพื้นที่ใกล้เคียง

                    1.2 สนับสนุนอุปกรณ์พร้อมสำหรับการให้บริการผู้มาขอรับบริการ                

กลยุทธ์ที่ 2 : มาตรการส่งเสริม สนับสนุน การพัฒนาบุคลากรในองค์การสู่มืออาชีพ การจัดการองค์การแห่งการเรียนรู้ การบริการวิชาการ งานวิจัย และนวัตกรรม ยกระดับคุณภาพชีวิตที่ดีต่อชุมชน จังหวัด ประเทศและสากล

          2.1 ทบทวน ตรวจสอบข้อมูล คำสั่งแต่งตั้งคณะทำงานบริหารประจำศูนย์ไกล่เกลี่ยข้อพิพาทภาค ประชาชนตำบลทับทันและทะเบียนผู้ไกล่เกลี่ยข้อพิพาทประจำศูนย์ให้เป็นปัจจุบัน

2.2 ส่งเสริม สนับสนุน คณะทำงานบริหารประจำศูนย์ไกล่เกลี่ยข้อพิพาทภาคประชาชนตำบลทับทัน ให้ได้รับการพัฒนาศักยภาพ การเข้ารับการฝึกอบรม ประชุม สัมมนา การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ การสร้างความรู้ความเข้าใจ การถ่ายทอดองค์ความรู้ การสร้างนวัตกรต้นแบบผู้ไกล่เกลี่ยข้อพิพาทแบบมืออาชีพ

กลยุทธ์ที่ 3 : มาตรการส่งเสริม สนับสนุน การบริหารจัดการองค์การ พัฒนาระบบข้อมูลและเทคโนโลยีดิจิทัล กำกับ ติดตาม ตรวจสอบ และยกระบบงานอย่างมีคุณค่า

          3.1 กำกับ ดูแล ติดตาม ประสานงาน พัฒนาระบบฐานข้อมูลทะเบียนผู้ไกล่เกลี่ยข้อพิพาทในพื้นที่ของตน โดยอ้างอิงจากระบบฐานข้อมูลค้นหาศูนย์ไกล่เกลี่ยข้อพิพาทและผู้ไกล่เกลี่ย กรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพ กระทรวงยุติธรรม

          3.2 จัดทำรายงานผลการดำเนินงานประจำเดือน/ปี เพื่อทบทวนวางแผนการพัฒนาปรับปรุงให้ดียิ่งขึ้น

          3.3 จัดการประชุมคณะทำงานบริหารประจำศูนย์ไกล่เกลี่ยข้อพิพาทภาคประชาชนและการประชุมออนไลน์ เพื่อทบทวนวางแผนการพัฒนาปรับปรุงและแลกเปลี่ยนเรียนรู้ให้ดียิ่งขึ้น

          3.4 ทบทวนผลการดำเนินงาน ปัญหา อุปสรรค จุดเด่น จุดด้อย นำสู่การพัฒนาวางแผนยุทธศาสตร์ แผนปฏิบัติการประจำปี โครงการ กิจกรรม และงบประมาณ เพื่อพัฒนาปรับปรุงให้ดียิ่งขึ้น

กลยุทธ์ที่ 4 : มาตรการส่งเสริม สนับสนุน พัฒนางานบริการการไกล่เกลี่ยข้อพิพาท อำนวยความยุติธรรมและลดความเลื่อมล้ำในการเข้าถึงความยุติธรรมของประชาชน สร้างเครือข่าย ยกระดับสู่มาตรฐานการให้บริการและความสันติสุขของชุมชนอย่างยั่งยืน

          4.1 สนับสนุนจัดการให้บริการเข้าสู่กระบวนการไกล่เกลี่ยข้อพิพาท ภาคประชาชน การให้คำปรึกษา เพื่อให้แล้วเสร็จภายในกำหนด

          4.2 ส่งเสริม สนับสนุน บุคลากรคณะทำงานและผู้ไกล่เกลี่ยข้อพิพาทได้นำความรู้ที่ได้จากการอบรม การศึกษาข้อมูล และประสบการณ์มาถ่ายทอด เพื่อยกระดับจัดทำบันทึกข้อตกลงระงับข้อพิพาทถูกต้องเป็นไปตามมาตรฐาน และประสานงานต่อยอดสู่กระบวนการยุติธรรมทางเลือกอื่น ๆ ต่อเครือข่ายเป็นที่พึ่งของประชาชน

          4.3 ส่งเสริม สนับสนุน บุคลากรคณะทำงานและผู้ไกล่เกลี่ยข้อพิพาท ศึกษา เรียนรู้ ช่วยเหลือ การใช้งานระบบสารสนเทศกลางสำหรับการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทออนไลน์ยุคดิจิทัล

          4.4 ส่งเสริม สนับสนุน การให้บริการ อำนวยความยุติธรรมและลดความเลื่อมล้ำในการเข้าถึงความยุติธรรมของประชาชน อาทิ การจัดกิจกรรมให้ความรู้ทางกฎหมาย การประชาสัมพันธ์ข้อมูลข่าวสารและออนไลน์ให้ส่วนราชการและประชาชนทั่วไปทราบ

          4.5 ส่งเสริม สนับสนุน มาตรฐานการให้บริการ ด้านวิชาการ งานวิจัย และนวัตกรรมการไกล่เกลี่ยข้อพิพาท รวมทั้งช่องทางให้ประชาชนสามารถติดต่อได้เมื่อต้องการทั้งในระดับศูนย์ไกล่เกลี่ยข้อพิพาทระดับชุมชน การส่งต่อคดีข้อพิพาทต่อส่วนกลางระดับจังหวัดและระดับประเทศ และหน่วยงานศาลหรือหน่วยงานเครือข่ายในกระบวนการยุติธรรมอื่น ๆ เพื่อช่วยเหลือประชาชนอย่างสันติสุข